วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

กรอกแบบสอบถามประเมินการให้บริการผู้ป่วยนอกของหน่วยบริการปฐมภูมิ(PCUQ)ปี2557
จำแนกราย รพ.สต.
หน้าบันทึกข้อมูล             หน้ารายงานผล                
รพสต.กุง                         รายงานผลความพึงพอใจรพ.สต.กุง
รพ.สต.กระเดียน             รายงานความพึงพอใจรพ.สต.กระเดียน
รพ.สต.เกษม                   รายงานความพึงพอใจรพ.สต.เกษม
รพ.สต.คำสมิง                รายงานความพึงพอใจรพ.สต.คำสมิง
รพ.สต.กุดยาลวน           รายงานความพึงพอใจรพ.สต.กุดยาลวน
รพ.สต.แดง                       รายงานความพึงพอใจรพ.สต.แดง
รพ.สต.คอนสาย                รายงานความพึงพอใจรพ.สต.คอนสาย
รพ.สต.ถ้ำแข้                     รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ถ้ำแข้
รพ.สต.ท่าหลวง                รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ท่าหลวง
รพ.สต.โนนกุง                  รายงานความพึงพอใจรพ.สต.โนนกุง
รพ.สต.คำแคนน้อย          รายงานความพึงพอใจรพ.สต.คำแคนน้อย
รพ.สต.ตากแดด               รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ตากแดด
รพ.สต.ห้วยฝ้าย               รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ห้วยฝ้าย
รพ.สต.กุศกร                    รายงานความพึงพอใจรพ.สต.กุศกร
รพ.สต.โคกน้อย               รายงานความพึงพอใจรพ.สต.โคกน้อย
รพ.สต.สะพือ                   รายงานความพึงพอใจรพ.สต.สะพือ
รพ.สต.ตระการ                รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ตระการ
รพ.สต.โพนเมือง            รายงานความพึงพอใจรพ.สต.โพนเมือง
รพ.สต.เซเป็ด                 รายงานความพึงพอใจรพ.สต.เซเป็ด
รพ.สต.นาเดื่อ                 รายงานความพึงพอใจรพ.สต.นาเดื่อ
รพ.สต.นาพิน                  รายงานความพึงพอใจรพ.สต.นาพิน
รพ.สต.ขามเปี้ย              รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ขามเปี้ย
รพ.สต.ไหล่ทุ่ง               รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ไหล่ทุ่ง
รพ.สต.ท่าบ่อแบง          รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ท่าบ่อแบง
รพ.สต.บ่อหิน                รายงานความพึงพอใจรพ.สต.บ่อหิน
รพ.สต.ใหม่เจริญ           รายงานความพึงพอใจรพ.สต.ใหม่เจริญ
รพ.สต.หนองเต่า           รายงานความพึงพอใจรพ.สต.หนองเต่า
PCUรพ.ตระการ            รายงานความพึงพอใจPCUรพช.ตระการ



วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แนวทางการพัฒนาคุณภาพ PCA อำเภอตระการพืชผล


PCA ขั้น 3 ใน รพ.สต.


การพัฒนาระบบบริการเป็นเรื่องปกติของหน่วยบริการผู้ให้บริการเพื่อให้ประชาชน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงสุด ในบริการที่ตนเองและทีมงานมอบให้ ในการพัฒนาระบบบริการนั้นในปัจจุบันต้องอาศัยภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาทอย่างมากเพราะเป็นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ของทุกภาคส่วนเข้ามาจัดการบริการร่วมกันเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับ รพ.สต.เขตอำเภอตระการพืชผล ปีนี้ ขอรับการประเมิน PCA ขั้น 3 ซึ่งเกณฑ์นั้น เป็นเกณฑ์ที่ต้องประเมินทั้งประเทศ ประกอบด้วย

เกณฑ์การประเมินคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิหรือ รพ.สต.(PCA)
ของระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU)
          เครือข่ายบริการปฐม มีข้อมูลผลการดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการบริการ การบริหาร พัฒนาคุณภาพการบริการปฐมภูมิ
ขั้นที่ ๑ 
· รู้จักสภาพหน่วยงานของตนเองว่ามีพันธกิจ หรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย รวมถึงทิศทาง เป้าประสงค์ วัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ที่สำคัญกับประชาชน ชุมชน ผู้รับบริการทั้งในสถานบริการและในชุมชน  ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก ภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ
· ทราบปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงที่สำคัญ และมีการจัดการปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงที่สำคัญนั้น
 ประเด็นปัญหาและความเสี่ยงที่สำคัญที่ควรพิจารณาได้แก่
๑. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและ/หรือรุนแรงในพื้นที่ เช่น การเกิดโรคระบาด โรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ เป็นต้น
          ๒. การดูแลสุขภาพตามกลุ่มประชากร เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง กลุ่มมารดาทารก  กลุ่มผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการ  กลุ่มประชากรตามภาวะเสี่ยงต่างๆ  ตามลักษณะพื้นที่หรือการประกอบอาชีพ
          ๓. การจัดบริการรักษาพยาบาลทั้งภาวะเฉียบพลัน และเรื้อรัง และการดูแลต่อเนื่อง
          ๔. การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่สำคัญ ภาคีเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียน วัด ชมรมต่างๆ องค์กรภาคเอกชน ผู้นำชุมชน เป็นต้น
          ๕. การจัดการอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อที่ปลอดภัยทั้งผู้รับบริการและผู้ใช้บริการ
          ๖. การบริหารจัดการยาเวชภัณฑ์และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยตามมาตรฐาน
๗. การบริการด้านชันสูตร ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องเหมาะสม
          ๘. การจัดการเกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการบริการให้เพียงพอ พร้อมใช้ เที่ยงตรงและปลอดภัย
          ๙. การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลตังแต่การสรรหา พัฒนาบุคลากร การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ
               
การประเมินในขั้นที่ ๑ นี้ให้พิจารณาว่าหน่วยบริการทราบปัญหาที่สำคัญของพื้นที่และ/หรือประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญในการดำเนินงานของหน่วยงาน และมีการนำปัญหาและความเสี่ยงต่างๆนั้นนำมาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา ซึ่งผลลัพธ์อาจยังไม่เป็นที่น่าพอใจก็ได้เป็นพัฒนาในเชิงการตั้งรับ
 ขั้นที่ ๒
· ผ่านขั้นที่ ๑
· มีการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงแล้วนำไปวางระบบ แนวทาง มาตรการป้องกันการเกิดปัญหา/ความเสี่ยงนั้นๆ ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
· มีการใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา/ความเสี่ยงนั้นๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาเชิงการป้องกัน
ขั้นที่ ๓
· ผ่านขั้นที่ ๒
· ครอบคลุมระบบงานและแนวทางที่สำคัญและมีการนำเอามาตรฐาน PCA สู่การปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์ที่ดี มีผลลัพธ์ที่ยอมรับได้
· มีการนำข้อมูลมาใช้ในการวัดวิเคราะห์วางแผนและติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
· มีการพัฒนาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามกระบวนการเรียนรู้ PDCA/CQI จนเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น  
การประเมินในขั้นที่ ๓ นี้ให้พิจารณาว่าหน่วยบริการมีการพัฒนาต่อยอดจาการพัฒนาในขั้นที่ผ่านมาแล้วมีการปรับปรุงระบบงาน แนวทาง มาตรการต่างๆที่วางไว้โดยนำผลการดำเนินงานมาใช้ในการทบทวนเพื่อทำได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มีการหมุนวงล้อ PDCA/CQI ในระบบงาน แนวทาง มาตรการ ดังกล่าวและครอบคลุมระบบที่สำคัญๆของหน่วยงาน เริ่มนำเอาเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงานและมีผลลัพธ์การดำเนินงานบางระบบดี ยอมรับได้
เกณฑ์การประเมินคุณภาพ
เครือข่ายบริการปฐมภูมิของระดับเครือข่ายบริการ(CUP)

เกณฑ์การประเมินคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิของระดับเครือข่ายบริการ

         สำหรับเครือข่ายบริการปฐมภูมิซึ่งมีความสำคัญต่อการบริการที่มีคุณภาพของการจัดบริการที่มีคุณภาพของหน่วยบริการ ซึงเกณฑ์นี้จะให้ความสำคัญกับการประเมินเครือข่ายบริการฯ(CUP) ในการบริหารจัดการ สนับสนุนการจัดบริการในด้านต่างๆ ให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิแต่ละแห่ง ดังนั้นการประเมินระดับเครือข่ายบริการฯ  จึงเป็นส่วนที่สำคัญในการเห็นภาพรวมของการพัฒนา  ในเครือข่ายบริการฯนั้น

ขั้นที่ ๑ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญดังนี้
· รู้จักสภาพปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงที่สำคัญทั้งในระดับภาพรวมของเครือข่ายบริการปฐมภูมิและระดับหน่วยบริการปฐมภูมิในแต่ละแห่ง
·  มีแนวทางการสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงที่สำคัญในการดำเนินงานของหน่วยบริการหรือการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงาน
· ปัญหาและความเสี่ยงสำคัญนั้นได้รับการปรับปรุงแก้ไข
       ขั้นที่ ๑ นี้ ให้พิจารณาว่าเครือข่ายบริการปฐมภูมิทราบปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่ ความเสี่ยงที่สำคัญในการดำเนินของหน่วยบริการปฐมภูมิในแต่ละแห่ง ตลอดจนการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงานของหน่วยบริการ และมีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและความเสี่ยงที่สำคัญนั้นๆ
ประเด็นปัญหาและความเสี่ยงที่สำคัญขั้นที่ ๑ ที่ควรพิจารณา ได้แก่  
          ๑. เครือข่ายบริการปฐมภูมิควรทราบของปัญหาสุขภาพที่สำคัญเกี่ยวกับความชุกของโรค อัตราการเกิดโรคที่สำคัญ พบบ่อย รุนแรงในพื้นที่ เกี่ยวกับการจัดการบริการที่มีคุณภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น ตามการจัดบริการแบบองค์รวมผสมผสานทั้งในกลุ่มแบบเฉียบพลัน เรื้อรัง ตามกลุ่มประชากรเสี่ยง ตามกลุ่มอายุ ตามกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ตามลักษณะพื้นที่/การประกอบอาชีพ เป็นต้น
         ๒. เครือข่ายบริการปฐมภูมิควรทราบความเสี่ยงที่สำคัญในการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอ เช่น  งบประมาณ ยาและเวชภัณฑ์และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา วัสดุชันสูตร วัสดุเครื่องมืออุปกรณ์ครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการจัดบริการ เป็นต้น
๓. เครือข่ายบริการปฐมภูมิจัดให้มีระบบสนับสนุนที่สำคัญ เช่น ระบบเฝ้าระวังและควบคุมการติด
เชื้อในสถานบริการ ระบบการดูแลรักษาพยาบาลต่อเนื่อง(เฉียบพลัน-เรื้อรัง)รวมถึงระบบการส่งต่อ(ไป-กลับ) ระบบงานชันสูตร ระบบยาและเวชภัณฑ์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบพัฒนาคุณภาพ ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
๔. เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีระบบนิเทศ ประเมินติดตาม และการประสานงานเพื่อการจัดบริการภายในเครือข่ายที่ดีในขั้นที่ ๑ เครือข่ายบริการปฐมภูมิมีจัดการปัญหาและความเสี่ยงการดำเนินงานที่สำคัญนั้น ๆ เพื่อให้มีการจัดบริการที่มีคุณภาพที่หน่วยบริการปฐมภูมิ

ขั้นที่ ๒  ประกอบประเด็นสำคัญดังนี้
· ผ่านขั้นที่ ๑
· เครือข่ายบริการปฐมภูมิวิเคราะห์ปัญหา/ความเสี่ยงที่สำคัญในการดำเนินงาน มีการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเป็นระบบ
· มีการนำข้อมูลมาใช้ในการวัดวิเคราะห์ วางแผนและติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ

หมายเหตุ ระบบ หมายถึง มีแนวทางการดำเนินงาน การประเมินติดตามผลลัพธ์

การประเมินในขั้นที่ ๒ นี้พิจารณาจากการที่เครือข่ายบริการปฐมภูมิต่อยอดจากขั้นที่ผ่านมา และได้วิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุที่แท้จริงแล้วนำมาวางระบบ แนวทาง  มาตรการป้องกันปัญหา/ความเสี่ยงในการดำเนินงานที่สำคัญนั้นๆนำสู่การปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์

ขั้นที่ ๓ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้
· ผ่านขั้นที่ ๒
· มีระบบงานและแนวทางที่สำคัญและมีการนำเอามาตรฐานPCA สู่การปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์แสดงได้
· มีการพัฒนาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามกระบวนการเรียนรู้ PDCA/CQI จนเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น   
การประเมินในขั้นที่ ๓ นี้พิจารณาจากที่เครือข่ายบริการปฐมภูมิได้มีการพัฒนาต่อยอดจากขั้นที่ผ่านมา และมีการวางระบบการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ เพื่อจัดการปัญหา/ความเสี่ยงการดำเนินงาน
ที่สำคัญ  ได้ครอบคลุมปัญหาสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่ และระบบสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีในระบบงานที่สำคัญ และปัญหาที่สำคัญได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเกิดผลลัพธ์ที่ดี (ผลลัพธ์ที่ดี หมายถึง มีผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่หน่วยงานกำหนด(Goal) มีแนวโน้มที่ดีขึ้น(Trend) หรือเทียบเคียงกับค่ามาตรฐาน (Standard))
          เครือข่ายบริการปฐม มีข้อมูลผลการดำเนินงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการบริการ การบริหาร พัฒนาคุณภาพการบริการปฐมภูมิ
ที่มา  แนวทางการประเมิน PCA ขั้น 3 ตามเกณฑ์ P4P